วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เริ่มแรกทำนารู้จักการไถนาก่อน

 การไถนา

 มาดูข้อดีการไถนา
การไถพรวน คือการขุดดินขึ้นมาแล้วก็พรวนให้ละเอียด

1.ทำให้วัชพืชถูกถอนขึ้นมาจากดิน

2.เมื่อหญ้าถูกขุดขึ้นมามันก็จะตายโดยง่าย

3.แถมหญ้าโดนใบมีดตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ยิ่งตายง่ายขึ้นอีก

แต่ถ้าถูกฝนบางต้นจะกลับฟื้นตืนชีพได้นะครับ จึงควรจะต้องพรวนเป็นช่วงๆ เพื่อควบคุมวัชพืชน่ะครับ
ควรไถพรวนดินอย่างน้อย 2-3 รอบ และต้องถูกเวลาด้วยครับ บ่งั้น หญ้าจะเกิดคือเก่า

มาดูข้อเสียบ้าง
การไถพรวนจะไปทำลายโครงสร้างของดินทำให้ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย แต่ไม่เป็นไรเพราะเราจะทำนาา ดินมันก็อยู่ในนา ยิ่งดี พรวนหญ้าให้เป็นปุ๋ยได้ อีก

ไถเตรียมดิน





ไถนามี สามขั้นตอนประมาณนนี้

ไถดะ  เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่นา การไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำ ลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะในบางพื้นที่จะไถหลังฝนตกเมื่อดินเกิดความชุ่มชื่น บางพื้นที่ใช้การวิดน้ำเข้านาแทน การปล่อยน้ำเข้านานั้นต้องดูที่สภาพดินด้วยว่า ควรปล่อยน้ำมากน้อยเพียงไร การปล่อยน้ำเข้านา เพื่อทำให้ดินนิ่มขึ้น จะได้ไถนาได้ง่ายขึ้น หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์

 การไถแปร (อาจเรียกว่า การตีนา) หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบไว้เอาขึ้นมาอีกครั้งเพื่อทำ ลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำ นวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยูกับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ

การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะ
แก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสมํ่าเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดู
แลการให้นํ้า (ในบางพื้นที่การไถแปร และ การคราด จะอยู่ในขั้นตอนเดียวกัน)

เครื่องมือในการไถนา

อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการทำนา ของขั้นตอนการเตรียมดินก่อนการปลูกข้าว มีดังนี้
1. ใช้ในการขับเคลื่อน มีดังนี้ คือ ควาย รถอีแต๋น รถไถนา สามารถเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งได้
 
ควาย
รถอีแต๋น
รถไถนา
2. ใช้ในการไถ ซึ่งขอแบ่งเป็นแบบใช้ควายแบบใช้รถอีแต๋นและแบบรถไถ
     2.1 แบบใช้ควายไถนา ประกอบด้วย หัวหมู,หางยาม,แอก,ผาน,คันไถ,คราด ดังนี้
ผาน
ผาน หรือ หัวผาน จะเป็นเหล็กสามเหลี่ยม ใช้ต่อกับหัวหมู เป็นตัวไถพลิกหน้าดิน
หัวหมู
หัวหมู จะเป็นส่วนที่ทำให้ดินผลิกออกข้างๆ ปัจจุบันหัวหมูกับผานจะรวมเป็นชิ้นเดียวกัน

รูปภาพหัวหมูที่ต่อกับผานแล้ว

คันไถที่ประกอบแล้ว

คันไถ  จะเป็นไม้ที่อยู่ในแนวนอนเป็นตัวเชื่อมระหว่างหางยามกับแอก
หางยาม หางยามเป็นไม้ที่อยู่ในแนวตั้ง ต่อกับหัวหมู ใช้เป็นตัวบังคับหัวหมูให้ไถไปในทิศทางที่ต้องการ
แอก
แอก เป็นส่วนที่ใช้คล้องกับคอควาย เพื่อช่วยบังคับควาย และเป็นแม่แรงในการทำให้ไถนาได้
คราด
 คราด ใช้ในการย่อยดินให้เล็กลง และเก็บเศษหญ้าเศษฟาง และจะมีส่วนของแผ่นไม้หรือไม้กลมๆที่ช่วยปรับระดับหน้าดิน ให้เท่ากัน ซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่าคราดปรับระดับ

ภาพแสดงการใช้ควายในการไถ

ข้อดีข้อเสียในการไถนาในแต่ล่ะยุค

 ยุคของรถไถนา ในที่นี้ ขอแบ่ง รถไถนา ออกเป็น 3 ยุค ดังนี้คือ

ยุคที่ 1 การใช้ควายในการไถนา
 ข้อดี   คือ  1. ไม่เปลืองน้ำมัน
                2. ควายถ่ายออกมาเป็นปุ๋ย ซึ่งเหมือนได้ปุ๋ยไปในตัว
                3. ควายมีน้ำหนักน้อยกว่าเครื่องยนต์ขนาดใหญ่
                    เท้าของควายมีขนาดเล็ก เหยียบดินแล้วไม่ทำให้ดินแน่น
                4. เวลาเหนื่อย เหงา เศร้า เราสามารถคุยกะควายได้ คงไม่ค่อยแปลก
                    เท่าไร่ แต่ถ้าคุยกับรถอีแต๋นอาจจะแปลกนิดหน่อย อิอิ
 ข้อเสีย คือ 1. สงสารควาย ควายมีชีวิต เหนื่อยได้
                2. ใช้เวลานานกว่าจะไถเสร็จ

ยุคที่ 2  การใช้รถอีแต๋นไถนา (แบบไถเดินตาม)
  ข้อดี  คือ  1. สามารถไถนาเสร็จเร็วขึ้นกว่าใช้ควาย
                2. ล้อของรถอีแต๋นอาจไม่เล็กเท่าเท้าควาย แต่
                    เป็นซี่เหล็กสามารถตะกุยดินไปในตัว
                3. สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
                    วิดน้ำเข้านา ปั่นไฟ เป็นต้น
 ข้อเสีย คือ 1. เปลืองน้ำมัน
                2. ยากต่อการบังคับ
                3. เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
                4. ในการไถนา ยังต้องเดินตามรถ ซึ่งเหนื่อยกว่ายุคที่ 3

ยุคที่ 3 การใช้รถไถนาสมัยใหม่
  ข้อดี คือ   1. การไถนาเสร็จเร็วมาก
                2.สามารถทุ่นแรงของเกษตรกรได้มาก
                3.การบังคับรถง่ายกว่ายุคที่ 2
 ข้อเสีย คือ 1. ล้อและน้ำหนักของรถยุคที่ 3 มีขนาดใหญ่มาก
                    สามารถกดทับให้พื้นดินแน่นตัว
                2.มีราคาแพง

ขอขอบคุณ
http://thairice-farm.blogspot.com/search/label/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2

1 ความคิดเห็น: